/ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ท่านทรงมีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของวิชาการเป็นอย่างสูง  โดยท่านทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงด้วยตนเองเองหลายต่อหลายเพลงด้วยกัน รวมบทเพลงในพระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งสิ้น 48 เพลง มีทั้งเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งทำนอง และเนื้อร้องภาษาอังกฤษ มีทั้งสิ้น 5 เพลง ได้แก่  Echo  ,  Still on My Mind ,  Old-Fashioned Melody , No Moon  และ  Dream Island  รวมทั้งยังมีเพลงที่ท่านทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นในภายหลัง โดยนำไปใส่ในคำร้องซึ่งมีผู้ประพันธ์เอาไว้อยู่แล้ว ได้แก่เพลง เพลงความฝันอันสูงสุด , เราสู้ ,  รัก

ผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องเพื่อใช้ในเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่านด้วยกัน  ได้แก่  ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ , ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค , นายจำนงราชกิจ , ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ รวมทั้ง ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา เป็นต้น ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา

ในช่วงแรกๆ หลังจากเพลงพระราชนิพนธ์จำนวนมากได้มีการแต่งทำนองและคำร้องอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำเพลง เพลงพระราชนิพนธ์ ไปบรรเลงในวงดนตรีวงกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความแพร่หลาย นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ผลปรากฏว่าเพลงจำนวนมากได้กลายมาเป็นเพลงยอดฮิตทั้งในหมู่นักฟังเพลงชาวไทยและชาวต่างประเทศ

แต่ในช่วงหลังๆ พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย จึงเป็นเหตุให้พระองค์ไม่มีเวลาเหลือพอที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆออกมา และบทเพลงสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง เมนูไข่ เป็นเพลงแนวสนุกสนาน รื่นเริง ฟังแล้วติดหู ร้องตามได้ง่าย ส่วนผู้เนื้อร้อง คือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแต่งเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปีพ.ศ. 2538

ความเป็นมาของเพลง ความรักอันสูงสุด

ตอนปี พ.ศ. 2512 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้เขียนบทกลอนเพื่อเชิดชูส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่อประเทศชาติ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ได้แต่งออกมาทั้งหมด 5 บท ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล  ทรงใส่ทำนองเพลงใน ความฝันอันสูงสุด  ใน พ.ศ. 2514  ขับร้องโดย ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค